อาการผลลำไยแตกเมื่อลำไยติดผลหลังการราดสารลำไย
ฝนตกคราวใด ลำไยผลแตกทุกที เกิดจากสาเหตุใด ควรแก้ไขอย่างไรดี
1. การเตรียมต้นลำไย อายุของใบลำไย และระยะใบที่เหมาะสมต่อการให้สารโพแทสเซียมคลอเรตหรือสารลำไย ควรมีการแตกใบอ่อนประมาณ 2 รุ่นหรือมีอายุใบลำไยอย่างน้อย 3 สัปดาห์ขึ้นไป หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วลำไยจะเกิดการโทรมเพราะว่าการให้ผลผลิตจะทำให้แร่ธาตุอาหารต่างๆที่ต้นพืชเก็บสะสมไว้จะถูกนำไปใช้จนหมด ทำให้ต้องมีการฟื้นฟูต้นลำไยเพื่อให้ลำไยพร้อมที่ราดสารลำไยในคราวต่อไป ซึ่งการที่ลำไยจะออกดอกออกผลผลิตได้ดีนั้น ขั้นตอนแรกต้นลำไยต้องมีความพร้อมสมบูรณ์เต็มที่ การที่จะทำให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่ต้องมีการให้ปุ๋ย ฮอร์โมน ธาตุอาหารหลักอาหารรอง และกำจัดสารตกค้างซึ่งเกิดจากการที่เราได้ใช้สารราดลำไยในการกระตุ้นบังคับให้ลำไยมีการออกดอกแล้ว ไม่มีการกำจัดสารลำไยตกค้างที่ดีพอ ซึ่งจะสังเกตได้จากการที่เราให้ปุ๋ย ฮอร์โมน ธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองไปแล้ว แต่ลำไยยังไม่ฟื้นฟูได้ตามที่เราต้องการ เนื่องจากมีสารเร่งการออกดอกลำไยตกค้าง แล้วไปยับยั้งระบบรากให้ทำงานได้ไม่เต็มที่ เมื่อรากทำงานได้ไม่เต็มที่มีผลกับการแตกใบ ( กระบวนการที่เราใช้สารลำไยไปบังคับหรือเร่งให้ลำไยออกดอกก็คือกระบวนการไปยับยั้งการเจริญเติบโตของลำไย ทำให้รากหยุดการเจริญเติบโต ถ้ารากไม่มีการพัฒนาหรือเจริญเติบโต จะมีผลในการแตกใบของต้นลำไย )
2. ฤดูกาลให้สารโพแทสเซียมคลอเรต ควรกำหนดปริมาณสารราดลำไยและวิธีการใช้สารลำไยให้เหมาะสมกับฤดูกาล เช่นช่วงฤดูหนาวควรให้สารราดลำไยในอัตราต่ำ ช่วงฤดูร้อนควรให้สารเร่งการออกดอกลำไยอัตราปานกลาง และฤดูฝนควรให้สารโพแทสเซียมคลอเรตอัตราสูง นอกจากนี้ไม่ควรให้สารราดลำไย กับต้นลำไยที่มีอายุมากในฤดูฝนเพราะจะตอบสนองไม่ดีเท่ากับลำไยที่มีอายุน้อย
3. การกำหนดอัตราส่วนปริมาณการใช้สารเร่งการออกดอกลำไยต้องมั่นใจว่าสารลำไยที่จัดเตรียมมานั้นเป็นสารที่มีคุณภาพสูง พิจารณาเบื้องต้นเช่น
4. แสง ต้นลำไยที่ให้สารโพแทสเซียมคลอเรตในสภาพที่มีแสงจะออกดอกได้ดีกว่าในสภาพครึ้มฟ้าครึ้มฝน และควรหลีกเลี่ยงการใส่สารราดลำไยในช่วงครึ้มฟ้าครึ้มฝนหรือช่วงที่ฝนตกชุก
5. เทคนิคและวิธีการให้สารราดลำไยหรือสารกระตุ้นการออกดอกลำไย ถึงแม้การให้สารโพแทสเซียมคลอเรตสามารถให้ได้หลายวิธี เช่น วิธีราดสารลำไยทางดิน พ่นสารลำไยทางใบ แต่วิธีที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ทางดินควบคู่กับการพ่นสารทางใบ
ก่อนอื่นเราต้องมีข้อมูลและประวัติเกี่ยวกับลำไยในสวนของเราเสียก่อน เช่น ลำไยเราปลูกได้กี่ปี ทรงพุ่มเท่าไหร่ ราดสารลำไยมากี่ปีแล้ว ซึ่งมันจะเกี่ยวข้องกับการคำนวณว่าเราต้องใช้สารกระตุ้นการออกดอกของลำไย ในปริมาณเท่าไหร่ต่อต้นดี
ขั้นตอนแรกวัดทรงพุ่มของต้นลำไย วิธีการวัดก็คือ วัดจากชายพุ่มมาถึงชายพุ่มหรือวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นลำไย เมื่อวัดทรงพุ่มได้เท่าไหร่ก็จะสามารถทราบปริมาณการใช้สารราดลำไยต่อต้นได้จากสูตรการใช้ก็คือใช้สารราดลำไยในอัตราประมาณเมตรละ 1 ขีดโดยมาตราฐาน เช่น หากเราวัดทรงพุ่มต้นลำไยได้ 5 เมตรก็จะใช้สารราดลำไย 5 ขีดต่อต้นโดยประมาณ แต่..ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆด้วย เช่น
ดังนั้นหากจะซื้อสารโพแทสเซี่ยมคลอเรตต้องเลือกซื้อตามแหล่งที่เชื่อถือได้ ต้องสอบถามว่าเป็นสารโพแทสเซี่ยมเกรดไหน ยี่ห้ออะไร ปริมาณการใช้ยี่ห้อนี้กี่ขีดต่อทรงพุ่ม 1 เมตร เกษตรกรไม่ควรใช้วิธีการที่บอกต่อๆกันมา( ที่พบเจอบ่อยๆ ) เช่น ใช้สาร 25 กิโลต่อน้ำ 1000 ลิตรฉีดพ่นใต้ต้นลำไยบริเวณเชิงพุ่มความกว้าง 50 เซนติเมตรให้ความกว้างทรงพุ่มเป็นตัวบังคับปริมาณสาร (อย่าลืมว่ายังมีตัวแปรอื่นๆอีก เช่น…ปริมาณการปรับน้ำที่ออกจากหัวพ่นของเกษตรกรแต่ละคนเท่ากันไหม… การเดินฉีดพ่นของเกษตรกร ช้า- เร็ว เท่ากันทุกคนไหม) ไม่ต้องคำนวณความกว้างทรงพุ่มเสียเวลา แต่หากสารที่ซื้อมามีเปอร์เซนต์ไม่เท่ากัน ( 99.99 % จริงที่เขียน แต่วัดจริงเท่ากันหมดทุกยี่ห้อหรือเปล่า) ต้องสอบถามจากผู้จำหน่ายแต่ละยี่ห้อก่อนว่าอัตราการใช้ต่อเมตรเท่าไหร่ ก่อนจับโยนลงถัง ( เสียเวลาคำนวณไม่กี่นาทีดีกว่าเสียเวลาไป 1 ปี )
1.วิธีการโรยบริเวณชายทรงพุ่ม
ขั้นตอนปฏิบัติ
– ให้นำสารโพแทสเซี่ยมคลอเรตมาชั่งปริมาณตามที่ได้คำนาณมาแล้ว(ตามที่กล่าวมาข้างต้น) แล้วนำมาโรยบริเวณชายพุ่มโดยรอบต้นลำไยแล้วรดน้ำตาม
วิธีนี้มีข้อเสียคือ
– การละลายของสารโพแทสเซี่ยมคลอเรตจะช้าละลายไม่ค่อยหมดเนื่องจากสารโพแทสเซียมคลอเรตที่นำเข้ามาหากเก็บไว้นานๆจะจับตัวเป็นก้อนแข็งมาก แม้นว่าเราจะทุบให้ละเอียดก็ตามก็ยังเป็นก้อนเล็กๆ ก้อนเล็กๆเหล่านี้ละลายน้ำค่อนข้างยาก วิธีนี้นิยมใช้ในการราดสารเร่งการออกดอกลำไยในฤดูฝนหรือสวนลำไยที่ใช้ระบบสปริงเกอร์ในการให้น้ำ
2.วิธีการละลายสารราดลำไยในภาชนะเช่น ละลายในถัง ในบัวรดน้ำ แล้วนำมาราดบริเวณชายพุ่มโดยรอบต้นลำไย
ขั้นตอนปฏิบัติ
– ให้นำสารโพแทสเซี่ยมคลอเรตมาชั่งปริมาณตามที่ได้คำนาณมาแล้ว แล้วนำมาละลายในัถังน้ำ คนให้ละลายให้หมด แล้วตักใส่ในบัวรดน้ำแล้วนำมาราดบริเวณชายพุ่มโดยรอบต้นลำไย วิธีนี้เป็นวิธีที่ทำให้ลำไยได้รับปริมาณของสารโพแทสเซียมคลอเรตที่ตรงตามที่คำนวณอย่างแน่นอน
วิธีนี้มีข้อเสียคือ
– ช้า นิยมใช้ในสวนที่มีปริมาณต้นลำไยไม่มากนัก
3.วิธีการใช้หัวฉีดพ่นบริเวณชายพุ่ม
ขั้นตอนการปฏิบัติคือ
– คำนวณปริมาณของสารโพแทสเซียมคลอเรตที่จะใช้ ว่าลำไยของเราจะใช้ต้นละเท่าไหร่ถ้าหากเราผสมสารลำไยกับน้ำในถัง 200 ลิตร แล้วปรับหัวฉีดพ่นประมาณไหน ความเร็วในการเดินฉีดพ่นประมาณแค่ไหน จะฉีดพ่นบริเวณโดยรอบชายพุ่มของลำไยได้กี่ต้น สมมุติว่าเราคำนวณแล้วลำไยของเราต้องการสารต้นละ 1 กิโลกรัม ปริมาณน้ำที่บรรจุถัง 200 ลิตรสามารถพ่นได้ 20 ต้น เราก็นำสารโพแทสเซียมคลอเรตมาชั่งให้ได้ประมาณ 20 กิโลกรัมแล้วนำมาละลายในถังที่บรรจุน้ำเอาไว้ 200 ลิตร แล้วนำมาฉีดพ่นบริเวณชายทุ่มของต้นลำไยให้ได้ 20 ต้น วิธีนี้ข้อดีคือสามารถทำงานได้ด้วยความรวดเร็ว
วิธีนี้มีข้อเสียคือ
– ปริมาณสารโพแทสเซียมคลอเรตที่ลำไยได้รับอาจจะมากหรือน้อยไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับเกษตกรที่เป็นผู้ปฎิบัติงาน
การฉีดพ่นสารลำไยทางใบ
-ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฉีดพ่นสารลำไยทางใบ คือ ช่วงที่มีความชื้นสมพัทธ์สูง เช่น เช้าตรู่ หรือหลังฝนตกเพราะเมื่อใบอิ่มน้ำชั้นเคลือบผิวใบจะพองตัว ทำให้ช่องทางน้ำมีขนาดใหญ่ขึ้น สารจะสามารถเข้าสู่ช่องน้ำของชั้นเคลือบผิวใบได้ -สารเร่งการออกดอกลำไยต้องอยู่ในรูปของสารละลาย เมื่อฉีดสารลำไยบนใบแล้ว หากน้ำที่เกิดจากการฉีดพ่นระเหยเร็ว จะทำให้สารแห้งเป็นผลึกซึ่งจะผ่านผิวใบไม่ได้ ฉะนั้นต้องให้มีความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศสูงพอที่สารจะดูดไอน้ำมาทำให้เกิดการละลายได้ใหม่ -ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการฉีดสารลำไยคือช่วงเย็น เพราะถ้าเราฉีดสารเร่งการออกดอกลำไยช่วงเช้าตรู่สารลำไยจะเข้าช่องทางน้ำและปากใบได้ ในช่วงที่สารยังไม่แห้งสนิทซึ่งใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมงจากนั้นสารจะแห้งสนิทเนื่องจากอากาศและแสงอาทิตย์ที่ร้อนขึ้นในช่วงตอนสาย สารลำไยจึงไม่สามารถซึมผ่านเข้าสู่ปากใบและทางช่องน้ำได้ สารจึงแห้งสนิทเกาะตามขอบใบทำให้ใบไหม้ แต่ถ้าฉีดสารเร่งดอกลำไยตอนเย็นสารเร่งดอกลำไยจะเข้าสู่ปากใบและทางช่องน้ำได้มากกว่า 12 ชั่วโมง เพราะช่วงเวลากลางคืนจะมีน้ำค้างซึ่งจะทำให้สารเร่งการออกดอกลำไยไม่แห้งและน้ำค้างเป็นตัวละลายสารลำไยได้ จึงทำให้สารลำไยไม่แห้งและสามารถซึมผ่านเข้าสู่ปากใบและทางช่องน้ำได้ทั้งคืนจนถึงตอนเช้า
– การฉีดสารควรฉีดบนใบหรือใต้ใบ การฉีดสารควรฉีดทั้งบนใบและใต้ใบเนื่องจากบนใบมีช่องทางน้ำที่สารพ่นลำไยสามารถซึมผ่านได้แม้นจะมีสารเคลือบใบตามธรรมชาติของลำไยเคลือบอยู่ ส่วนใต้ใบจะมีปากใบและช่องทางน้ำที่สารเร่งลำไยสามารถซึ่มผ่านได้เหมือนกัน